บทที่ 10
การค้าและการเงินระหว่างประเทศ

แบบทดสอบตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์         
เพื่อทดสอบความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง
                               "การค้าและการเงินระหว่างประเทศ"


คำแนะนำ             ให้นักศึกษาอ่านคำถามต่อไปนี้ทีละข้อแล้วคลิกช่องว่างที่นักศึกษาคิดว่าถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 
                              นักศึกษามีเวลาททำบททดสอบนี้  15 นาที


1.สาเหตุที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ คือ

ความแตกต่างในทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศ
สินค้าบางอย่างไม่สามารถผลิตได้ในบางประเทศ
ประชาชนในประเทศต่างๆมีความชำนาญในการผลิตต่างกัน
ถูกทุกข้อ


2.ตามทฤษฎีการค้าได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ การค้าระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นเมื่อ
ต้นทุนเปรียบเทียบในแต่ละประเทศเท่ากัน
ต้นทุนเปรียบเทียบในแต่ละประเทศต่างกัน
ต้องไม่มีฝ่ายใดในแต่ประเทศอยู่ในฐานะเสียเปรียบ
ข้อ 1 และ 3 ถูก
3. ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใด
อัตราแลกเปลี่ยนแบบอิงหลายสกุลเงินตราต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
อัตราแลกเปลี่ยนแบบปริวรรตทองคำ
อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวกึ่งจัดการ
4. ปัจจุบันค่าเงินบาทในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
ค่าเงินบาทแต่ละสกุลในกลุ่ม
อุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ราคาทองคำในตลาดโลก
5. ส่วนแตกต่างระหว่างมูลค่าสินค้าออกและสินค้าเข้า เรียกว่า
ดุลบริการ
ดุลเดินสะพัด
ดุลการชำระเงิน
ดุลการค้า

6.มาตราการใด เป็นมาตรการของนโยบายการค้าคุ้มกัน
การกำหนดอัตราภาษีอัตราเดียว
กำหนดโควต้าในการนำเข้า
การแบ่งงานกันทำ
การระดมเงินออม
7. ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ คือ

ความมั่งคั่งของประเทศเพิ่มขึ้น โดยมีเงินทองไหลเข้าประเทศมาก
ความมั่งคั่งของประเทศเพิ่มขึ้น โดยมีสินค้าบริโภคมากขึ้น
ความมั่งคั่งของประเทศลดลงเนื่องจากนำสินค้ามากขึ้น
การผลิตภายในประเทศเพิ่มขึ้นในสินค้าทุกชนิด

8. นักท่องเที่ยวฮ่องกง เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย รายการนี้อยู่ในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศไทยรายการใด
บัญชีเดินสะพัด
บัญชีทุนเคลื่อนย้าย
บัญชีทุนสำรองต่างประเทศ
บัญชีเงินโอนหรือบริจาค
9. การแก้ไขดุลการชำระเงิน คือ
ลดราคาสินค้าส่งออก
ลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประเทศแล้วแต่กรณี
ควบคุมเงินตราต่างประเทศ
ถูกทั้งข้อ (1) , (2) และ (3)
10. ประเทศ ก และข จะได้ประโยชน์จากการค้าระหว่างกันน้อยที่สุด ถ้า
โครงสร้างการผลิตในทั้งสองประเทศเหมือนกัน
ประเทศทั้งสองมีขนาดเท่ากัน
โครงสร้างการผลิตในทั้งสองประเทศแตกต่างกัน
โครงสร้างการผลิตในทั้งสองประเทศกันเพียงเล็กน้อย